คุย ชื่อวิทยาศาสตร์ Willughbeia edulis Roxb. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Ancylocladus cochinchinensis Pierre) จัดอยู่ในวงศ์ตีนเป็ด (APOCYNACEAE)
เป็นไม้พุ่มกึ่งไม้เถา ทอดเอนเกาะเกี่ยวต้นไม้อื่นโดยมีมือเกาะ เปลือกลำต้นเรียบเกลี้ยงสีน้ำตาลเข้ม ทุกส่วนมียางขาวข้นหรือเหลืองอ่อน ๆ ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก รูปรีแกมรูปขอบขนาน กว้าง 2.5-4 ซม. ยาว 7-10 ซม. ปลายมนเป็นติ่งแหลมสั้น โคนมนหรือสอบ แผ่นใบหนาเป็นมัน ด้านบนสีเขียวเข้ม ด้านล่างสีเขียวอ่อน เส้นแขนงใบถี่และเกือบขนานกัน มีข้างละ 15-20 เส้น ระหว่างเส้นแขนงใบมีเส้นแขนงใบสั้น ๆ แทรกกลาง จึงทำให้ดูเหมือนเส้นแขนงใบถี่มากขึ้น เส้นเหล่านี้เห็นได้ชัดทางด้านล่าง ก้านใบเกลี้ยง ยาวไม่เกิน 1 ซม. ช่อดอกสั้น ออกตามง่ามใบและปลายกิ่ง ช่อหนึ่ง ๆ มีน้อยดอก ดอกสีขาวหรือชมพูเรื่อ ๆ เมื่อบานเต็มที่กว้างประมาณ 2.5 ซม. กลีบเลี้ยงเล็กมี 5 กลีบ ปลายกลีบมนและมีขนตามขอบ กลีบดอกรูปทรงแจกัน ปลายบานออกแยกเป็น 5 แฉก แต่ละแฉกเรียวแหลม ภายในหลอดด้านในมีขนประปราย ด้านนอกเกลี้ยง เกสรเพศผู้ติดอยู่ที่โคนหลอดกลีบดอกด้านใน รังไข่เล็ก กลม มีช่องเดียว มีออวุลจำนวนมาก ผลกลมหรือค่อนข้างกลม เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4.5 ซม. เปลือกนอกหนา แข็ง เป็นมัน ภายในมีเยื่อนุ่ม ๆ สีเหลืองอ่อนซึ่งหุ้มเมล็ดอยู่ ผลแก่จัดสีเหลือง
ผลสุกรับประทานได้ มีรสหวาน ผลดิบมีรสเปรี้ยวฝาด ผลแห้งย่างไฟ บดทาแผล เถาและรากมีรสฝาด แก้มือเท้าอ่อนเพลีย ต้มดื่มแก้บิด แก้โรคตับ แก้โรคคุดทะราด แก้เจ็บคอ เปลือกต้นมีรสฝาด ต้มดื่มแก้ปวดศีรษะ ยางมีรสฝาดร้อน ทาแผล แก้คุดทะราด
Willughbeia is a genus of plant in the family Apocynaceae,first described as a genus in 1820. It is native to Southeast Asia with a few species in the Indian Subcontinent. Several species have edible fruits enjoyed in many countries. Many species are vines with sticky latex.
อ้างอิง วิกิพีเดีย
ลักษณะของต้นคุย
ต้นคุย จัดเป็นไม้เถาเนื้อแข็งรอเลื้อยขนาดใหญ่ เลื้อยไปได้ไกลประมาณ 10-15 เมตร มีลำเถาที่ใหญ่และแข็งแรงมาก แตกกิ่งก้านสาขาจำนวนมาก มีมือยึดเกาะ เปลือกลำต้นเกลี้ยงเป็นสีน้ำตาล ทุกส่วนของต้นจะมีน้ำยางสีขาวขุ่น พบได้ตามป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง ป่าโปร่ง และป่าเบญจพรรณ เป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด